วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แซมมวล มอร์ส

                            แซมมวล มอร์ส

                                



แซมมวล มอร์ส (Samuel F.B. Morse)
เกิด 27 เม.ย. ค.ศ. 1791
ตาย 2 เม.ย. ค.ศ. 1872
ปัจจุบันการสื่อสารเจริญก้าวหน้า คนทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว แต่ในอดีตการส่งข่าวสารถึงกันจะใช้ม้าเร็ว นกพิราบ หรือสัญญานไฟ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1832 จึงเริ่มใช้สัญญานไฟฟ้าในการส่งข่าวสารเป็นครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อว่า แซมมวล มอร์ส
แซมมวล มอร์ส เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ตอนที่เขาเรียนจบปริญญาตรีใหม่ ๆ นั้นได้เข้าทำงานด้านโฆษณาที่สำนักพิมพ์บอสตัน แต่ยังคงรักงานวาดภาพอยู่ เขาจึงตัดสินใจไปเรียนต่อด้านศิลปะที่ยุโรป
ขณะที่โดยสารเรือกลับอเมริกาหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว บังเอิญได้ยินการสนทนาเกี่ยวกับการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เขาจึงคิดที่จะใช้คลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้า ในการส่งข่าวสารวิธีการของเขาคือ ส่งข่าวสารโดยใช้กระแสไฟฟ้าให้ผ่านไปตามเส้นลวด ต่อมาเรียกว่า สายโทรเลข
ปี ค.ศ. 1832 มีการตั้งถานที่ทำการโทรเลขไฟฟ้าของมอร์สขึ้นในอเมริกา ต่อมาได้ติดตั้งสายโทรเลขระหว่างเมืองวอชิงตันและบัลติมอร์
ปี ค.ศ. 1838 มอร์สได้ประดิษฐ์ระบบจุด-ขีด ที่รู้จักกันว่า รหัสของมอร์ส ใช้วิธีการส่งสัญญานไฟฟ้า ยาว-สั้น ไปตามเส้นลวดแล้วแปลเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ข้อความ แรกที่ส่งคือ "What hath God wrought"
รหัสของมอร์สใช้ง่าย จึงยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการติดต่อทางวิทยุระหว่างเรือกับบนฝั่ง
                                                 วิทยุ





                                                 

เฮาเบิร์ต ไอสไตน์

                                     เฮาเบิร์ต ไอสไตน์


                                          

      อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก เขาเกิดมาในครอบครัวชาวยิวในเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ.1879 ในวัยเด็ก เขาไม่ชอบไปโรงเรียน แต่เขาศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่บ้าน
เขาได้ไปศึกษาในวิทยาลัยที่ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในด้านฟิสิกส์ในปี 1905 เขาได้ตีพิมพ์ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติของจักรวาล ทฤษฎีพิเศษว่าด้วยความสัมพันธ์ ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายว่าสสาร พลังงาน และเวลาสัมพันธ์กันอย่างไร ทฤษฎีสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ไอน์สไตน์มีชื่อเสียงก้องโลก และในปี 1921 เขาก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ไอน์สไตน์ เสียชีวิตในปี ค.ศ.1955

อัตเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 ที่เมืองโฮล์ม ทางภาคใต้ของเยอรมัน บิดาของเขาเปิดร้านค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก เมื่อปี พ.ศ. 2423 บิดาของเขาได้ย้ายบ้านไปอยู่ที่มิวนิค ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเยอรมัน อัลเบิร์ต เป็นเด็กที่เคร่งขรึมเหมือนมารดา หัวเราะยาก เขาไม่ชอบการเล่นทหารที่สุด เขาเกลียดทหารมากแต่รักความอ่อนโยนและต้องการเหตุผล เมื่อเด็กๆ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไม่ชอบการเรียนหนังสือ เพราะครูบังคับให้เขาท่องจำต่าง ๆ เขาต้องการเหตุผลว่าเหตุใดจึงต้องทำในทุกกรณี ดังนั้นเมื่อครูไม่ให้คำตอบ อัลเบิร์ตจึงเบื่อหน่ายในการเรียน อัลเบิร์ตเป็นคนยิว วันหนึ่งเมื่อครูสอนศาสนาได้นำตะปูมาสองตัว และบอกว่าตะปูนี้และที่ชาวยิวได้ใช้ตรึงพระเยซู ตั้งแต่นั้นเพื่อน ๆ พากันชิงชังอัลเบิร์ต ไม่ยอมคบหาสมาคมด้วย ต่อมาอัลเบิร์ต จึงไปเข้าโรงเรียนมัธยมศึกษามูนิคยิมนัสเซียม แต่เขาก็ต้องผิดหวังเพราะที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นการสอบแบบเก่า






                                    

เจมส์ วัตต์

                                          เจมส์ วัตต์
                                             
                                 ) วัตต์จึงถูกระงับใบอนุญาต แม้ว่าไม่มีช่างทำเครื่องชั่งตวงวัดที่มีความแม่นยำในสกอตแลนด์ก็ตาม ทำให้วัตต์ต้องหางานอย่างอื่นทำ  
เจมส์ วัตต์ เกิดใน กรีนนอค (Greenock) เมืองท่าของ อ่าวไคลด์ (Firth of Clyde) พ่อชื่อ โทมัส วัตต์ เป็นช่างไม้และช่างต่อเรือผู้เป็นเจ้าของเรือและรับเหมางานช่าง มารดาเป็นผู้มีการศึกษาจากตระกูลผู้ดี ทั้งคู่เป็นคริสเตียนที่เคร่งครัด แต่ฐานะทางครอบครัวค่อนข้างยากจน เขาจึงต้องเรียนแบบโฮมสคูลโดยมีมารดาเป็นผู้สอน เขาถนัดคณิตศาสตร์ และสนใจเทววิทยาของสกอตแลนด์ แต่อ่อนวิชาภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ แต่เขาก็ได้รับพื้นฐานงานช่างจากการช่วยงานของบิดา [1]
มารดาของวัตต์เสียชีวิตเมื่อวัตต์อายุ 17 ปี และบิดาก็เริ่มสุขภาพไม่ดี เขาจึงไปหางานทำที่กลาสโกว์ (Glasgow) ได้งานผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนึ่ง โดยหลังเลิกงานยังเรียนต่อในช่วงเย็นถึงค่ำ การโหมงานและเรียนทำให้สุขภาพของวัตต์อ่อนแอมาก ทำให้เขาต้องลาออกจากงานและเดินทางไปลอนดอนเพื่อเรียนการผลิตเครื่องชั่งตวงวัด (Measuring instrument making) เมื่อเรียนอยู่ได้ 1 ปี ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามยุโรปขึ้น รัฐบาลเกณฑ์ชายหนุ่มเข้าฝึกทหาร แต่วัตต์ไม่ชอบสงคราม จึงได้กลับกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ตั้งใจจะตั้งต้นธุรกิจเครื่องชั่งตวงวัดของตน แต่เนื่องจากขาดคุณสมบัติ เพราะกฎหมายของเมือง ต้องจดทะเบียนกับสมาคมพ่อค้า ซึ่งผู้จดทะเบียนได้ต้องเป็นบุตรของพ่อค้า หรือเคยฝึกงานอย่างน้อย 7 ปี สมาคมช่างกลาสโกว์ (Glasgow Guild of Hammerman


                                                                       
                                                                     

ชาร์ด ดาร์วิน

                                         ชาร์ด ดาร์วิน

                                      


         ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (อังกฤษ: Charles Robert Darwin FRS; 12 ก.พ. ค.ศ. 180919 เม.ย. ค.ศ. 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์[1][2] ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950[3][4] การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการควบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต

                                          

โจเซฟ พริสต์เลย์

                                    โจเซฟ พริสต์เลย์

                                       

 1 สิงหาคม พ.ศ. 2317 โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบธาตุ ออกซิเจน (oxygen : O2) ในอากาศ นับเป็นการค้นพบธาตุนี้เป็นครั้งที่ 3 (ครั้งสุดท้าย) ช่วยตอกย้ำการค้นพบทั้งสองครั้งก่อนหน้านั้น โดยค้นพบธาตุชนิดนี้ในขณะที่กำลังทดลองเกี่ยวกับก๊าซต่าง ๆ เขาได้นำออกไซด์สีแดงของปรอทมาเผาให้สลายตัวแล้วเก็บก๊าซที่เกิดขึ้นเอาไว้ เขาพบว่าเมื่อนำสิ่งต่าง ๆ ที่ติดไฟได้มาใส่ในภาชนะที่มีก๊าซนี้อยู่จะติดไฟได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เขาเชื่อว่าก๊าซชนิดนี้จะต้องมีอยู่ในอากาศและจะต้องเป็นก๊าซที่จำเป็นในการหายใจของสิ่งมีชีวิตด้วย จากนั้นเขาได้นำหนูทดลองไปใส่ไว้ในครอบแก้วจนหมดสติ แล้วใส่ก๊าซที่เขาเตรียมได้เข้าไปปรากฏว่าหนูตัวนั้นกลับฟื้นขึ้นมา จากนั้นเขาได้ทดลองสูดก๊าซนี้เข้าไปจึงพบว่าก๊าซชนิดนี้ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น ตามประวัติศาสตร์ ธาตุออกซิเจนถูกค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 โดย ไมเคิล เซนดิโวเกียส (Michael Sendivogius) นักเคมีและนักปรัชญาชาวโปแลนด์ ซึ่งได้บรรยายก๊าซที่เขาค้นพบไว้ว่าเป็น "สารหล่อเลี้ยงชีวิต" (the elixir of life) จากนั้นปี 2316 ธาตุชนิดนี้ก็ถูกค้นพบอีกครั้งโดย คาร์ล เชเลอ (Carl Wilhelm Scheele) เภสัชกรชาวสวีเดน ส่วน อองตวน ลาวัวซีเอ (Antoine Lavoisier) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้วางรากฐานวิชาเคมีในปัจจุบันเองก็กำลังศึกษาทดลองธาตุชนิดนี้อยู่เหมือนกัน ปีต่อมาก็ออกซิเจนถูกค้นพบโดยพริสต์ลีย์ เขาเขียนรายงานการค้นพบก๊าซชนิดนี้ในวารสาร The Philosophical Transactions ในปี 2318 ส่วนเชเลอเผยแพร่การค้นพบในปี 2320 ดังนั้นทั้งพริสต์ลีย์ เชเลอร์รวมไปถึงลาวัวซีเอต่างก็อ้างว่าตนเป็นผู้ค้นพบ ส่วนชื่อ "ออกซิเจน" นั้นลาวัวซิเอเป็นผู้ตั้งจากรากศัพท์ภาษากรีกแปลว่า "ผู้สร้างกรด" (acid-former) เพราะเขาเข้าใจว่ากรดจะต้องมีออกซิเจนรวมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด แต่ก็ยังคงใช้ชื่อนี้มาจนปัจจุบัน ทั้งนี้ออกซิเจนเป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีสถานะเป็นก๊าซที่ไร้สีไร้กลิ่น เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับที่ 2 ในโลก คือมากถึงร้อยละ 20.95 ของน้ำหนักของบรรยากาศ ประมาณร้อยละ 90 ของน้ำ และร้อยละ 50 ของเปลือกโลก เป็นธาตุที่จำเป็นในการหายใจของสัตว์ พืชสามารถสร้างออกซิเจนได้จากกระบวนการ


                                                                              
                                                                                                                                       
                                                                   

นิโครัส โคเปอร์นิคัส


                                                              นิโครัส โคเปอร์นิคัส


นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (ละติน: Nicolaus Copernicus Torinensis; โปแลนด์: Mikołaj Kopernik) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ (บางท่านบอกว่าเป็นชาวปรัสเซีย) เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 เสียชีวิต 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ที่เปลี่ยนโฉมความรู้ของมวลมนุษย์ ด้วยการเสนอทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งขัดกับทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางของอริสโตเติลและทอเลมี โดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ถือว่าการเสนอทฤษฎีนี้ เป็นการปฏิวัติทางความรู้ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ เทียบเท่ากับการเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วินในเวลานั้นโคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลแทนโลกในแนวความคิดเดิม โดยให้ดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น โลก ดาวศุกร์ หรือ ดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม (ในเวลาต่อมาโยฮันเนส เคปเลอร์ได้เสนอว่าควรเป็นวงรีดั่งโมเดลในปัจจุบัน) ถึงแม้ว่าความแม่นยำในการทำนายด้วยทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นไม่ได้ดีกว่าทฤษฎีเก่าของอริสโตเติลและทอเลมีเลย (ไม่ได้ให้ผลการทำนายตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ แม่นยำกว่าทฤษฎีเก่า) แต่ว่าทฤษฎีนี้ ถูกใจนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้นหลายคน เช่น เดส์การตส์ กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เนื่องจากว่าทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นเข้าใจง่ายและซับซ้อนน้อยกว่ามาก โดยกาลิเลโอกล่าวว่าเขาเชื่อว่ากฎต่างๆ ในธรรมชาติน่าจะเป็นอะไรที่สวยงามและเรียบง่าย ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางดูซับซ้อนมากเกินไปจนไม่น่าเป็นไปได้ (ดูทฤษฎีความอลวนเพิ่มเติม) แนวคิดของกาลิเลโอนี้ ตรงกับหลักการของออคแคม (Ockham's/Occam's razor) ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องในปัจจุบัน

                                                                             
                                                                                   
                                                                           
                                                                                                                                                 

ปิแอร์และมารี กูรี

                                                                ปิแอร์และมารี กูรี


ปิแอร์ กูรี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบิดาของเขาเป็นนายแพทย์ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว ปิแอร์ได้เข้าศึกษาต่อวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonn University) หลังจากที่เขาจบการศึกษาแล้วได้เข้าฝึกงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาก็สามารถสร้างผลงานเป็นที่น่าพอใจ และในปี ค.ศ. 1878 ปิแอร์ก็ได้รับรางวัลไซแอนซิเอท (Scienciate Award) ทางฟิสิกส์ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องทดลองประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และในระหว่างนี้เขาได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม และงานทางวิทยาศาสตร์
หลังจากที่ปิแอร์ได้มีโอกาสพบกับมารียา สโคลดอฟสกา ภายหลังทั้งคู้จึงได้แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895 โดยปิแอร์ กูรี กับมารียา สโคลดอฟสกา (มารี กูรี) มีบุตรสาวสองคน ได้แก่